องค์การบริหารส่วนตำบลโคกหินแฮ่

   
 
Untitled Document
Untitled Document
Untitled Document
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
 
 
 
 

 

ข้อมูลหมู่บ้าน
ข้อมูลหมู่บ้าน
 

1. ชื่อหมู่บ้าน

บ้านนาบัว หมู่ที่ 13 ตำบลโคกหินแฮ่ อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม

คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพใหญ่

แผนที่ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงบ้านนาบัวหมู่ที่ 13

2. ประวัติหมู่บ้าน
                          บ้านนาบัวตั้งขึ้นเมื่อปี  พ.ศ. 2434  ประชากรได้อพยพมาจากบ้านโพนสาวเอ้  เป็นส่วนใหญ่ประมาณ  90 % และมาจากบ้านโนนสังข์  10 % ของประชากรที่ก่อตั้งหมู่บ้าน  โดยก่อตั้งครั้งแรกที่โนนหนองบัว  ปัจจุบันอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหมู่บ้าน  (หนองแวง ) โดยการนำของนายจันทร์สอน จิตมาตย์ ซึ่งมีพี่น้องร่วมท้องเดียวกันถึง 9 คน น้องคนที่ 2 มีบุตรมากถึง 10 คน เมื่อไม่มีที่ทำกินจึงได้พาน้องขี่ม้ามาหาจับจองที่ทำกินบริเวณหนองแวงในปัจจุบัน  ในเมื่อน้องๆ มีที่ทำกินอุดมสมบูรณ์แล้ว  ผู้เป็นพี่ชายคือ ปู่จันทร์สอนก็กลับไปอยู่ที่บ้านเดิม (บ้านโพนสาวเอ้) และให้น้องคนที่ 2 คือ ปู่ชินจักร จิตมาตย์ ก่อตั้งบ้านอยู่ที่หนองแวง   อีกปีต่อมาน้องทั้ง 6 คน ก็ติดตามมาอยู่ด้วย   จึงได้แบ่งปันที่ทำกินและที่อยู่อาศัยให้ และนอกจากนั้นยังมี   นายไกรบุตร ราชสินธ์ นางลุน  นางทุมมี  นางอ่อนสี  เป็นต้นได้ย้ายมาอยู่ด้วย  จนได้เป็นหมู่บ้านนาบัวในปัจจุบัน

ลำดับตระกูลที่ก่อตั้งบ้านนาบัว


ปู่ต้นตระกูล

ผู้สืบสกุลอันดับ 1(ลูก)

ผู้สืบสกุลอันดับ 2(หลาน)

1.ปู่จันทร์สอน จิตมาตย์

-

-

2.ปู่ชินจักร จิตมาตย์
นางป้อง  จิตมาตย์(ภรรยา)
มีบุตร ด้วยกัน 10 คน

1.นางแพงศรี
2.นางแป่ง
3.นายคำปัน
4.นายปาน
5.นางจันทร์แดง
6.นายแป้ง
7.นายสุพีร์
8..นายศรีจันทร์
9.นางสุพัน
10.นางจันทร์หอม

1.นายธรรมรส
2.นายเกียนทะลัง(ไข่กา)
3.นายบุญทัน
4.นายบุญเรียน
5.นางหงษ์ษา
6.นางทอนใบ(ไข่กา)
7.นางสมพัน
8.นายพรมา
9.นางผิงคำ
10.นางโฮมมา(ผู้ใหญ่ทอง)

3.ปู่โฉม จิตมาตย์
นางนำ(ภรรยา)
มีบุตรด้วยกัน7 คน

1.นางนำ
2.นางนิน
3.นายนวน
4.นางทอง
5.นางกล้วย
6.นางแอร์
7.นางล้อม

1.นายกาฬสิน
2.นายจารโพธิ์
3.ลำทอง
4.นางเลาสี ราชสินธ์
5.นายสวาง
6.นางสวนมะณี
7.นางลำป่อน

ปู่ต้นตระกูล

ผู้สืบสกุลอันดับ 1(ลูก)

ผู้สืบสกุลอันดับ 2(หลาน)

4.ย่า โม๊ะ
ปู่เซียงมัง แสนมิตร(สามี)
มีบุตรด้วยกัน 7 คน

1.นายจารย์สอน
2.นายนี
3.นาง นาง
4.นางเกสี
5.นางบัววี
6.นางจันทร์ดี
7.นายกลมพร

1.นายบัวพา( บุษบา)
2.นายสมศรี
3.นางคาย-ลุงเคน
4.นายธรรมลิด
5.จารย์ไสว
6.นางเข็มมา (ภูสา)
7.นายจารย์ชม

5.ย่า เมาะ
มะณีทอง (สามี)
มีบุตรด้วยกัน 2 คน

1.นายคำพอง
2.นายทองคำ

1.นางจันทร์มา
2.นางลำเทียน
3.นางบุญคำ

6.ปู่ มุน
ย่าลำ(ภรรยา)
มีบุตรด้วยกัน 5 คน

1.นางลำพร  จันทร์ศรีเมือง
2.นางจันทร์เสน
3.นางสุเทียน
4.นางคำไพ
5.นางคำพอ

1.นายศักดิ์  จันทร์ศรีเมือง
2.นายชม
3.นายหย่อนมา
-
-

7.ย่ามอน
เซียงแก้ว(สามี)
มีบุตรด้วยกัน 4 คน

1.นายคำไหม
2.นายพิมพ์
3.นางเกียนตา
4.นางมัดสา

1.นางคำเสาร์ เลาศรี
2.นายสมพอ
3.นายแถวคำ
4.นางสกล-อารพร

8.ย่า มิ้ง
สามี     -
มีบุตร  -

-

-

9.ย่ามาย 
สามี  -
มีบุตรด้วยกัน 4 คน

1.นายบุญมี
2.นายทิดดา
3.นายบุญมา
4.นางดวงตา

1.นายบัวสา
2.นายตาเลื่อม
3.นายพรมตา

            ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2445  ได้ยกฐานะเป็นหมู่บ้านและได้มีการแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านขึ้น  เป็นคนแรก  คือ  นายจิตปัญญา  แสนมิตร  (นายเชียงมัง )  และสร้างวัด บัวขาวขึ้นในปี พ.ศ. 2445  โดยการนำของพระเทศ  นามพลแสน  งานหลักในการสร้างบ้านแปลงเมืองในขณะนั้น  คือ การพัฒนาที่ทำกินมากกว่าอย่างอื่น  เช่น  การเบิกถางที่นา  ทำสวน  เป็นต้น  ในปี พ.ศ. 2454  ผู้ใหญ่บ้านคนแรกได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา  จึงได้รับการแต่ตั้งผู้ใหญ่บ้านคนที่  2  คือ  นายวรรณทอง  นามพลแสน  ในขณะนั้นบ้านนาบัวมีทั้งหมด  30  ครอบครัว  แต่ขณะนั้นที่ตั้งหมู่บ้านถูกน้ำท่วม  จึงได้ย้ายที่ตั้งของหมู่บ้านใหม่  ซึ่งคือที่ตั้งของหมู่บ้านปัจจุบัน  ส่วนพี่น้องที่อยู่บ้านโพนสาวเอ้  และบ้านโนนสังข์ก็ได้ย้ายมาอยู่เพิ่มเรื่อย ๆ  ช่วงนี้ผู้ใหญ่วรรณทอง ได้เกษียณอายุราชการ  จึงได้แต่งตั้งผู้ใหญ่กรม  แสนมิตร  ขึ้นมาแทน  การสัญจรไปมากับส่วนราชการมีความยากลำบากมาก  เพราะไม่มีเส้นทางคมนาคมเหมือนในปัจจุบัน  ขณะนั้นบ้านนาบัวขึ้นต่อตำบลเรณูนคร เป็นหมู่ที่ 14 ของตำบลเรณู อำเภอธาตุพนม พาหนะในสมัยนั้นใช้เกวียนโดยใช้โคกระบือในการลาก  การเดินทางไปติดต่อกับตำบลหรืออำเภอของผู้ใหญ่บ้าน  คือ  การเดินเท้า
ในระยะเวลานั้นชาวบ้านนาบัวได้ตั้งถิ่นฐานมั่นคงแล้ว   นายกรม  แสนมิตร  ผู้ใหญ่บ้านและผู้เฒ่าผู้แก่  คิดถึงบ้านพ่อเมืองแม่  จึงได้ปรึกษาหารือกันว่าอยากทำกองกฐินไปทอดที่บ้านเดิม  เมื่อเห็นพ้องต้องกันแล้วจึงตกลงสร้างถนนเพื่อเป็นทางไปทอดถวายกฐินที่บ้านโพนสาวเอ้  ในปี พ.ศ. 2473  ต่อมาประมาณปี  พ.ศ. 2493  ผู้ใหญ่กรม  แสนมิตร ได้เกษียณอายุราชการ  การเลือกตั้งกำนันผู้ใหญ่บ้านสมัยนั้นเป็นการเลือกตั้งแบบเปิดเผยโดยการใช้วิธีการยกมือ  เป็นการตัดสินแพ้ชนะ  ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 4  ของบ้านนาบัวคือ  นายเกียรติ  นามพลแสน  ต่อมาในปีพ.ศ.2498  นายบุญทัน  จิตมาตย์ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ 5   และบ้านนาบัวได้แยกออกเป็นบ้านหนองกุงและมีนายบัวลำ  ราชสินธ์  เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก

            ในปี พ.ศ. 2500  มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง  ผู้นำรัฐบาลในสมัยนั้น  คือ  จอมพล สฤษดิ์  ธนะรัชต์  และฝ่ายที่ต่อต้านรัฐบาลนำโดยนายภูมิ  ชัยบัณฑิต  เป็นผู้นำการเคลื่อนไหวครั้งแรกที่บ้านหนองกุง 
มีการต่อสู้กันขึ้นที่เถียงนาพ่อสี  ราชสินธิ์  ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2504  ได้มีการจับกุมราษฎร์ในหมู่บ้าน  ในข้อหาอันธพาล  ได้นำไปขังลืมไว้ที่อำเภอธาตุพนม   จังหวัดนครพนม  จังหวัดอุดรธานี  และย้ายนักโทษไปขังไว้ที่เรือนจำนครบาล  กรุงเทพ ฯ  ครั้งสุดท้ายได้นำนักโทษไปขังไว้ที่เรือนจำราชบัวขาว  จังหวัดนครราชสีมา  ซึ่งมีราษฎรในหมู่บ้านนาบัวและหนองกุงถูกจับไปด้วย  9  คน  ในปี พ.ศ. 2507  ราษฎรที่ถูกจับในข้อหาอันธพาลก็ถูกปล่อยตัวพ้นจากการเป็นนักโทษกลับมาสู่ภูมิลำเนาของตัวเอง  ในเดือนกันยายน  พ.ศ.  2507    ราษฎรในหมู่บ้านถูกยิงตาย  1  คน คือ  นายคุณรม  ไชยราช ในเดือนพฤศจิกายน  พ.ศ 2507   นายภูมิมา   ราชสินธิ์  ผู้มีความขัดแย้งทางการเมืองกับรัฐบาล ซึ่งเป็นราษฎรบ้านหนองกุงถูกยิงเสียชีวิต  ในระยะนี้ความเคลื่อนไหวทางการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์กับรัฐบาลรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทางรัฐบาลได้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ  ทหารและอาสาสมัคร  มาเคลื่อนไหวปราบปรามราษฎรที่มีความคิดขัดแย้งกับรัฐบาลในเขตบ้านนาบัวและบ้านใกล้เคียง  ราษฎรในพื้นที่บ้านนาบัวได้ทยอยกันเข้าป่า  เพื่อรวมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์มากขึ้น  ในระยะนั้นผู้ใหญ่บ้าน คือ  นายอัมลา  นามพลแสน  (คนที่ 6)   ในวันที่  7  สิงหาคม 2508  ทางการได้ส่งตำรวจทหารออดปราบปรามฝ่ายคอมมิวนิสต์อย่างหนัก  ในพื้นที่รอยต่อสามอำเภอ  คือ  อำเภอธาตุพนม  อำเภอเมือง  อำเภอนาแก  พื้นที่ระหว่างบ้านนาบัว  บ้านหนองฮี  บ้านดงอินำ ได้เกิดการปะทะขึ้นระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย  นานประมาณ  45  นาที  ปรากฏว่าฝ่ายเจ้าหน้าที่เสียชีวิต  1  นาย  บาดเจ็บ  4  นาย ฝ่ายสมาชิกคอมมิวนิสต์เสียชีวิต  1  นาย    คือ นายกองสิน  จิตมาตย์  ( สหายเสถียร )  ซึ่งเรียกเหตุการณ์ในครั้งนี้ว่า  “ วันเสียงปืนแตก ”  เหตุการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นมีความเดือนร้อนเป็นอันมาก 
ในปี พ.ศ. 2509  ทางราชการยิ่งปราบปรามมากยิ่งขึ้น  ผู้ใหญ่อัมลา  นามพลแสน  พร้อมกับราษฎรหลายคนในหมู่บ้าน  ถูกจับในข้อหากระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์  จึงได้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่ขึ้นมาใหม่เป็นคนที่ 7  คือ  นายบุษบา  แสนมิตร   ทางการยิ่งเร่งการปราบปรามมากยิ่งขึ้น  สั่งให้ราษฎร์ทำรั้วรอบหมู่บ้านอย่างแน่นหนาด้วยหนาม  สั่งให้ชาวบ้านไปรายงานตัวก่อนออกไปทำไร่ทำนา  และช่วงกลับมาบ้านอย่างเคร่งครัด  ถ้าราษฎร์คนไหนฝ่าฝืนจะถูกลงโทษอย่างหนัก  เช่น  เตะ  ตี  และนำไปคุมขังที่ค่ายทหารบ้านหนองฮี  และส่งไปที่ค่ายทหารกองทัพภาคที่ 2  จังหวัดมุกดาหาร  ส่วนเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในหมู่บ้านที่เหลือต้องอยู่เวรยามภายในรั้วหนามของหมู่บ้าน  เมื่อทางราชการเร่งมือในการปราบปรามราษฎร  ราษฎรก็ยิ่งหลั่งไหลเข้าร่วมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์มากยิ่งขึ้น   เรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2520  ทางกองทัพภาคที่ 2  มีนโยบาย  66/23   ราษฎรที่เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์เริ่มทยอยกลับเข้ามามอบตัวกับทางการเป็นระยะ ๆ และในสมัยนี้โดยการนำของผู้ใหญ่บุษบา แสนมิตร ได้เสนอโครงการไฟฟ้าชนบทชาวบ้านได้สมทบโครงการด้วยเสาไม้ และคอนสายไฟฟ้า หรือสมทบเงินครัวเรือนละประมาณ 170 บาท หมู่บ้านนาบัวจึงมีไฟฟ้าใช้เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2522   ในวันที่ 7 สิงหาคม 2522 ทางราชการได้จัดงานวันเสียงปืนดับขึ้นเป็นครั้งแรก มีการฝึก ทสปช. โดยพลโทเปรม ติณสูลานนท์ มาทำพิธีปิดการฝึกอบรม ใน ปี พ.ศ. 2522  นายไสว  แสนมิตร  ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ 8  การต่อสู้ระหว่างทางราชการกับกองกำลังติดอาวุธพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งประเทศไทยก็ลดลงมาเรื่อย ๆ

            ปี พ.ศ. 2535  ได้แยกหมู่บ้านนาบัวเป็น  2 หมู่บ้าน  คือ หมู่ที  5 กับหมู่ที่ 13  มี นายคำสิงห์    จิตมาตย์  เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 13 คนแรก   ในปี พ.ศ. 2537  บ้านนาบัวหมู่ที่ 13  แยกออกเป็นหมู่ที่ 14  อีกหนึ่งหมู่บ้าน  มี  นายท่อนแก้ว   ราชสินธ์  เป็นผู้ใหญ่บ้าน  ในระยะนี้การต่อสู้กันของพรรคคอมมิวนิสต์กับทางการเริ่มสงบลง  ราษฎรที่ออกป่ากลับเข้าร่วมพัฒนาชาติไทยเกือบหมด  ที่เหลือก็คงตกค้างอยู่ที่ต่างประเทศ  เช่น  ประเทศลาว  ระยะเวลานี้รัฐบาลมีการพัฒนาประชาธิปไตยมากขึ้น  ราษฎร์มีสิทธิ์เสรีภาพมากขึ้น  ปลายปี พ.ศ. 2543  ผู้ใหญ่คำสิงห์  จิตมาตย์   เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง    นายวีระชัย  จิตมาตย์  ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ 2   และได้ลาออกเพื่อร่วมทีมการเมืองท้องถิ่นในปี 2548     จึงทำการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านคนใหม่  ผู้ได้รับเลือกคือ นายสาคร  จิตมาตย์  เป็นผู้ใหญ่คนที่ 3 ถึงปัจจุบัน

ทำเนียบผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 13 แยกจากหมู่ที่ 5 ปี พ.ศ. 2535
คนที่ 1  นายคำสิงห์  จิตมาตย์                    ประมาณปี พ.ศ.2535-2543
คนที่ 2  นายวีระชัย   จิตมาตย์                  ประมาณปี พ.ศ.2543-2548
คนที่ 3  นายสาคร  จิตมาตย์                      ประมาณปี พ.ศ.2548-ปัจจุบัน

3.สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
                เป็นชุมชนขนาดใหญ่ ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมถนนทางหลวงสายนครพนม-นาเหนือ  ถนนหมายเลข........... ลักษณะพื้นที่ราบ  สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย   

4.ข้อมูลพื้นฐาน

- พื้นที่ทั้งหมด                      1,972  ไร่           -ที่ว่าง     607  ไร่
- ที่ดินทำกิน                         1,190  ไร่              
- ที่อยู่อาศัย                               175  ไร่        -ที่สาธารณะประโยชน์      -       ไร่

5.อาณาเขตของหมู่บ้าน

ทิศเหนือ                ติดต่อบ้านหนองกุง  ม.6  ต.โคกหินแฮ่
ทิศใต้                     ติดต่อลำห้วยแคน เป็นแนวเขต
ทิศตะวันออก       ติดต่อบ้านหนองแซง  ม.8  ต.โคกิหนแฮ่
ทิศตะวันตก          ติดต่อ ลำน้ำบังและบ้านนาบัว  .14  ต.โคกหินแฮ่

 

 
 
Untitled Document
อบต.โคกหินแฮ่

นายก อบต.


นายภักดี สุขรี
นายกองค์การบริหารส่วน
ตำบลโคกหินแฮ่

ร้องทุกข์กับนายกคลิกที่นี่

Link ที่น่าสนใจ

Untitled Document

นโยบายไม่รับของขวัญ (No Gift Policy)
งานบริการของศูนย์บริการร่วม/ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service : OSS)
การตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (IIT)

 
E-service
 
   
   
   
   
   
   
 
สถิติการให้บริการ
 
   
 
สำรวจความพึงพอใจ
 
   
   
 
 
บทความ
 
   
 
 
 




 

องค์การบริหารส่วนตำบลโคกหินแฮ่
เลขที่ 87 หมู่ 3 ตำบลโคกหินแฮ่ อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม 48170
โทรศัพท์ / โทรสาร : 0-4253-0831 Email : saraban@khokhinhae.com
khokhinhae@gmail.com
Facebook : อบต.โคกหินแฮ่ จังหวัดนครพนม